การรักษาคลองรากฟันคืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง??

การรักษาคลองรากฟันคืออะไร คือ กระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและครองรากฟันที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรคและอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน รวมถึงการบูรณะตัวฟันเพื่อความสวยงาม และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ฟันลักษณะใดที่ควรรับการรักษาคลองรากฟัน

✨ฟันที่มีอาการปวดหรือเคยมีประวัติปวดมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
✨ฟันที่ผุ/แตก/สึก/ร้าว/ ลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
✨ฟันที่มีประวัติได้รับอุบัติเหตุรุนแรงและ/หรือฟันมีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิม
✨ฟันที่มีตุ่มหนองหรือมีการบวมบริเวณเหงือกหรือบริเวณหน้า

อาการแบบไหนที่ต้องเข้ารับการรักษาคลองรากฟัน สามารถจำแนกอย่างง่ายๆ ได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. อาการปวดฟันที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้น (stimulating pain) ส่วนมากมักมีอาการปวดไม่รุนแรง อาทิ ปวดแบบจี๊ดๆ เวลาดื่มน้ำเย็นหรือกินของหวาน หรือปวดแบบหนึบๆ เมื่อมีเศษอาหารติดซอกฟัน หลังจากนั้นอาการก็จะหายได้เองเมื่อได้กำจัดสิ่งกระตุ้นไปแล้ว
  2. อาการปวดฟันที่เกิดขึ้นแม้ไม่มีสิ่งกระตุ้น (spontaneous pain) ซึ่งอาการปวดอย่างหลังนี้จะมีระดับการปวดที่รุนแรงกว่า โดยมีลักษณะปวดแบบตุ๊บๆ ไปจนถึงปวดแบบร้าวไปทั่วบริเวณรอบๆ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาคลองรากฟันอย่างเร่งด่วน หรือทานยาแก้ปวดร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการปวดเสียก่อน
  1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนก่อนรับการรักษา
  2. ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเพื่อระงับความเจ็บปวดระหว่างทำหัตถการและใส่แผ่นยางกันความชื้นตลอดเวลาที่ทำหัตถการ
  3. ทันตแพทย์จะทำการเปิดทางเข้าสู่โพรงฟัน
  4. ทำความสะอาดภายในโพรงพันและคลองรากฟันด้วยเครื่องมือขนาดเล็กร่วมกับน้ำยาล้างคลองรากฟัน รวมทั้งจะมีการใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟันร่วมด้วย
    * การทำความสะอาดคลองรากฟัน ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับสภาวะการติดเชื้อของฟัแต่ละซี่ *

5. ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟันให้เต็มแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

6. บูรณะฟันให้สวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* การบูรณะฟันถาวรหลังการรักษารากฟันถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากฟันที่ได้รับการรักษาฟันเสร็จสมบูรณ์แล้วหากไม่ได้รับการบูรณะฟันถาวรด้วยวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสม ฟันจะมีความเสี่ยงในการแตกร้าวในอนาคต

7.หลังจากทำการบูรณะฟันเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน หรือครอบฟัน

คำแนะนำหลังจากรักษารากฟัน

  1. หลังทำการรักษา อาจมีอาการปวดตึงๆ ระดับปานกลางอยู่ประมาณ 2-3 วัน แนะนำให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม (Paracetamol 500 mg) 1-2 เม็ด หลังทำทันที และกินต่อเนื่อง 2-3 วัน ครั้งละ 1 เม็ดทุก 4-6 ชั่วโมง หรือ กินไอบูโพเฟน 400 มิลลิกรัม (Ibuprofen 400 mg) 1 เม็ด หลังอาหารทันที ซึ่งอาจจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง 2-3 วัน ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น
  2. หลีกเลี่ยงการกินอาหารแข็ง เหนียว กรอบ ระหว่างการรักษาคลองรากฟัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของเนื้อฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่
  3. สามารถแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดได้ตามปกติ
  4. หากมีอาการปวดนานมากกว่า 2-3 วัน ควรสอบถามทันตแพทย์ที่ให้การรักษา เพื่อประเมินและรับการบรรเทาอาการปวดดังกล่าว
  5. ในกรณีที่มีสภาวะการติดเชื้อของเส้นประสาทฟันระดับรุนแรง อาจจำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ (Amoxycillin 500 mg ครั้งละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้า-กลางวัน-เย็นและก่อนนอน โดยกินร่วมกับ Metronidazol 400 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า-กลางวัน- เย็น) ซึ่งทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้พิจารณาจ่ายยาดังกล่าวให้
  6. หลังการรักษาคลองรากฟันเสร็จสิ้น และฟันซี่ที่รักษาไม่มีอาการใดๆ ควรรีบนัดหมายเพื่อรับการบูรณะฟันซี่นั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปรึกษาปัญหาด้านทันตกรรม
⏰: เปิดให้บริการทุกวัน 10.00-20.00 น.
☎️: 094-679-2939 | 038-199-367
Facebook :Digital Dental Center Pattaya 
Line : @digitaldentistry
Youtube : Digital Dental Center Pattaya
Tiktok : Digital Dental Center Pattaya

แชร์บทความ
ทพญ.นฤมล โสภาลดาวัลย์
ทพญ.นฤมล โสภาลดาวัลย์

หมอหญิงจบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับประกาศนียบัตรฝึกอบรมระดับปริญญาโทด้านทันตกรรมเพื่อความงามจาก British Academy of Restorative Dentistry โดยเน้นด้านทันตกรรมเพื่อความงาม เช่น ครอบฟัน วีเนียร์ และรากฟันเทียม ในเวลาว่าง หมอหญิงเป็นนักอ่านตัวยงและชอบไปร้านกาแฟ

Articles: 20