การถอนฟันเป็นหนึ่งในกระบวนการทางทันตกรรมที่พบบ่อย โดยทั่วไปจะใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อต้องจัดการปัญหาสุขภาพฟัน เช่น ฟันผุขั้นรุนแรง ฟันคุด หรือปัญหาฟันที่ไม่สามารถบูรณะได้อีก การทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีดูแลแผลอย่างถูกต้องช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน
ข้อดีของการถอนฟัน
- บรรเทาอาการปวด แก้ปัญหาอาการปวดจากฟันผุ ฟันคุด หรือฟันที่เสียหายจนไม่สามารถรักษาได้ ลดความทุกข์ทรมานและคืนความสบายให้กับผู้ป่วย
- ป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก
- ช่วยเคลียร์พื้นที่สำหรับการใส่ฟันเทียม การจัดฟัน หรือการรักษาอื่นๆ ทำให้ฟันแท้ที่เหลืออยู่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล
- ลดความเสี่ยงของฟันผุ ฟันที่ขึ้นซ้อนเกหรือไม่สามารถทำความสะอาดได้ดี อาจก่อให้เกิดฟันผุในฟันข้างเคียง
- ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากฟันคุดหรือฟันโยก ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น ฟันคุดที่ดันฟันข้างเคียงจนเสียหาย หรือฟันโยกที่อาจหลุดออกเองและนำไปสู่การอักเสบโดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว
การถอนฟันไม่ใช่แค่การกำจัดปัญหาเฉพาะหน้า แต่ยังเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากในระยะยาว หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการถอนฟัน สามารถปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ค่ะ!
วิธีเตรียมตัวก่อนถอนฟัน
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ควรรับประทานอาหารให้เพียงพอและพักผ่อนให้เต็มที่ก่อนวันทำหัตถการ เพื่อช่วยให้ร่างกายพร้อมรับการรักษา
- สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อม และรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ
- เด็กเล็ก สำหรับเด็กที่ต้องเข้ารับการถอนฟัน ควรให้รับประทานอาหารก่อนการทำหัตถการประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อลดอาการวิงเวียนหรืออ่อนเพลียหลังการรักษา
- โรคประจำตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยที่ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาและทันตแพทย์เกี่ยวกับการหยุดหรือปรับขนาดยา โดยค่าความแข็งตัวของเลือด (INR) ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนทำหัตถการ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือผู้ที่ต้องรับเคมีบำบัด ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น ลิ้นหัวใจเทียม หรือกำลังรักษาด้วยเคมีบำบัด ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า เพื่อประเมินความเหมาะสมของการรักษา
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ (ไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท) และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในวันนัด
- จัดการความวิตกกังวล หากมีความกังวลเกี่ยวกับการถอนฟัน ควรแจ้งทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและสร้างความสบายใจก่อนการรักษา
- แจ้งข้อมูลสุขภาพที่สำคัญ ผู้ป่วยควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว และยาที่กำลังใช้อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างปลอดภัย
- สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง ควรให้ญาติหรือผู้ดูแลใกล้ชิดช่วยดูแล และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการรักษา
การเตรียมตัวที่ถูกต้องช่วยลดความเสี่ยงและทำให้กระบวนการถอนฟันเป็นไปอย่างราบรื่น หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนการรักษาเพื่อความปลอดภัยสูงสุดค่ะ!
ขั้นตอนการถอนฟัน
- การตรวจประเมินโดยทันตแพทย์: ทันตแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน พร้อมทั้งถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งของฟันและประเมินความยากของการถอนฟัน
- การเตรียมตัวก่อนการถอนฟัน: ทันตแพทย์อาจแนะนำให้หยุดยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ก่อนการถอนฟันเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วงหน้า
- กระบวนการถอนฟัน: ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณรอบฟัน ใช้เครื่องมือเฉพาะทางเพื่อค่อยๆ ถอนฟันออกจากกระดูกเบ้าฟัน ในบางกรณี เช่น ฟันคุด อาจต้องมีการผ่าตัดเล็กเพื่อเอาฟันออก
- การปิดแผล: หลังถอนฟันเสร็จ ทันตแพทย์จะให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซเพื่อช่วยหยุดเลือด และอาจเย็บแผลหากจำเป็น
วิธีดูแลแผลหลังการถอนฟัน
- กัดผ้าก๊อซให้แน่น บริเวณแผลนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อช่วยหยุดเลือด หากเลือดยังไม่หยุด สามารถเปลี่ยนผ้าก๊อซและกัดใหม่ได้
- หลังถอนฟัน เลือดไหลไม่หยุด ไม่ควรอมน้ำแข็งโดยตรง แต่แนะนำให้ใช้ห่อน้ำแข็งประคบบริเวณด้านนอกของแก้มใกล้กับแผลถอนฟันหรือบริเวณที่มีการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการบวม
- หลีกเลี่ยงการบ้วนปากในวันแรก ใน 24 ชั่วโมงแรก ห้ามบ้วนน้ำหรือใช้น้ำยาบ้วนปาก เพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดที่ช่วยสมานแผลหลุดออกได้ หลังจากวันแรก สามารถบ้วนน้ำเกลืออุ่น (ผสมน้ำอุ่น 1 ถ้วย กับเกลือ ½ ช้อนชา) บ้วนเบาๆ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร เพื่อช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการบวม ในช่วง 48 ชั่วโมงแรก ให้ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มด้านนอกที่ใกล้กับแผลถอนฟัน เพื่อบรรเทาอาการบวม
- หลีกเลี่ยงอาหารแข็งและร้อน เลือกอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ซุป หรือน้ำเต้าหู้ และหลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัดในช่วง 3-7 วันแรก
- ดูแลความสะอาดช่องปาก แปรงฟันอย่างเบามือ หลีกเลี่ยงบริเวณแผล บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ หลัง 24 ชั่วโมงแรก เพื่อช่วยลดการอักเสบ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ห้ามสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้แผลหายช้าหรือเกิดการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการใช้ลิ้นสัมผัสแผลหรือดูดหลอด
ข้อควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันเลือดไหลไม่หยุดหลังการถอนฟัน
- ห้ามสัมผัสหรือรบกวนแผล อย่าใช้ลิ้นดูดแผล นิ้วมือ หรือวัตถุใดๆ สัมผัสแผลถอนฟัน เพื่อป้องกันการเปิดแผลหรือการติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำแรงๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการถอนฟัน ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำลายแรงๆ เพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดที่ช่วยสมานแผลหลุดออก
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ใน 24 ชั่วโมงแรก เนื่องจากสารในบุหรี่และแอลกอฮอล์อาจทำให้แผลหายช้าและเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ
- งดกิจกรรมที่ใช้แรงมาก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อลดความเสี่ยงเลือดไหลซ้ำ และควรเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ได้หลัง 5-7 วัน
- ไม่ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ห้ามใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์หรือบ้วนน้ำแรงๆ จนถึงวันที่ 3 หลังการถอนฟัน เพื่อป้องกันการระคายเคืองและทำให้แผลสมานตัวได้ดีขึ้น
การถอนฟันแม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การดูแลอย่างถูกต้องช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความสบายใจให้ผู้ป่วยได้ หากคุณมีข้อสงสัยหรือจำเป็นต้องปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ Digital Dental Center พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลอย่างครบวงจร
ข้อมูลอ้างอิง:https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/extraction-of-teeth