รักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คืออะไร สาเหตุ และขั้นตอนรักษา

เคยมีอาการปวดฟันรุนแรง หรือ เสียวฟัน จนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันไหม? หลายคนอาจไม่รู้ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ต้องได้รับการรักษารากฟันทันที แล้วการรักษารากฟันคืออะไร? ทำไมถึงจำเป็น และมีขั้นตอนหรือค่าใช้จ่ายอย่างไร? บทความนี้จะช่วยไขทุกข้อสงสัย พร้อมแนะนำวิธีดูแลตัวเองก่อนและหลังการรักษา เพื่อให้คุณมั่นใจในการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากของคุณต่อไป ตามมาอ่านกันเลยครับ

การักษารากฟัน คืออะไร ?

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คือการเอาเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันออก และตัดเส้นประสาทฟันที่อักเสบออก เพื่อทำความสะอาดคลองรากฟัน จากนั้นทำการอุดโพรงประสาทรากฟันด้วยวัสดุเฉพาะ เพื่อยับยั้งการติดเชื้อในอนาคต

สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน

ปัญหาที่รากฟันมักเกิดจากฟันแตกหักจนถึงโพรงประสาท ฟันร้าวจากการนอนกัดฟันหรือเคี้ยวรุนแรง รวมถึงการกัดเค้นฟันซ้ำ ๆ ทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าไปในโพรงประสาทจนเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้ง่ายครับ โดยสามารถแบ่งสาเหตุย่อยๆได้ 2 ข้อ ดังนี้:

  1. สาเหตุจากพฤติกรรม: พฤติกรรมหลักๆ ที่ส่งผล เช่น  การนอนกัดฟันรุนแรง หรือพฤติกรรมการเคี้ยวที่ใช้แรงมากเกินไป นอกจากนี้ การกัดเค้นฟันหรือการใช้งานฟันอย่างไม่เหมาะสมก็สามารถสร้างแรงกดดันต่อโพรงประสาทฟัน ทำให้ฟันเกิดรอยร้าว
  2. สาเหตุจากอุบัติเหตุ: นอกจากนี้อุบัติเหตุเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อฟัน เช่น ฟันแตกหักจากการกระแทกจนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน

วิดีโอ 3D จำลองการติดเชื้อในคลองรากฟัน (Root canal infection process)

ในวิดีโอนี้เราจะเห็นภาพการลุกลามการติดเชื้อในคลองรากฟันซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการรักษาคลองรากฟัน เพื่อยุติการติดเชื้อหรืออักเสบไม่ให้ลุกลามมากไปกว่านี้ เมื่อเนื้อเยื่อภายในฟันของคุณติดเชื้อ หรืออักเสบเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ฟันผุลึก การทำหัตถการทางทันตกรรมซ้ำๆ ครอบฟันที่ชำรุด รอยแตก หรือรอยบิ่น อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรมรากฟันหรือการรักษารากฟัน แม้ว่าฟันของคุณจะไม่แสดงความเสียหายที่มองเห็นได้ แต่การบาดเจ็บก็สามารถทำให้เนื้อเยื่อเสียหายได้เช่นกัน การปล่อยให้เนื้อเยื่ออักเสบหรือติดเชื้อโดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด

อาการของคลองรากฟันอักเสบ

สัญญาณเตือนของคลองรากฟันอักเสบที่ควรระวังมีดังนี้

  1. ปวดฟันรุนแรง: อาการปวดฟันที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน หรือปวดมากขึ้นเมื่อเคี้ยวหรือกดบริเวณฟันนั้น
  2. ฟันไวต่ออุณหภูมิ: รู้สึกเจ็บหรือไวต่อความร้อนหรือความเย็นอย่างมาก และอาการนี้ไม่หายไปเมื่อหยุดสัมผัส
  3. บวมและแดง: เหงือกบริเวณรอบฟันมีการบวม แดง หรือมีอาการกดเจ็บเมื่อสัมผัส
  4. เป็นหนอง: หากมีหนองหรือแผลเปิดที่เหงือก อาจเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อและอักเสบในคลองรากฟัน
  5. ฟันคลอนหรือเคลื่อนไหว: ฟันเริ่มรู้สึกคลอนหรือเคลื่อนไหวเมื่อกัดหรือเคี้ยว
  6. มีกลิ่นปากหรือรสขม: หากมีรสขมหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ใน

ขั้นตอนรักษาคลองรากฟัน

สำหรับการรักษารากฟันคุณหมอจะทำการเอาโพรงประสาทฟัน และเส้นประสาทฟันออก จะทำให้ฟันซี่นั้นไม่สามารถรับรู้อะไรได้อีก หรือไม่มีชีวิตแล้วนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 1: ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ให้ และใช้เครื่อมือลงไปดึงเส้นเลือด และโปรงประสาทฟัน

ขั้นตอนที่ 2: จากนั้นจะทำความสะอาดคลองรากฟันโดยการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อและทำความสะอาดให้หมดจด และใส่ยาเข้าไปในครองรากฟัน

ขั้นตอนที่ 3: หลังจากคลองรากฟันสะอาดแล้วจะนำยาที่ใส่ออกและทำการอุดคลองรากฟัน ด้วยวัสดุเฉพาะ 

ขั้นตอนที่ 4:  จากนั้นจะทำการการปิดเนื้อฟันด้วยครอบฟัน ในบางเคสจะทำการใส่เดือยฟันเข้าไปด้วยแล้วทำการใส่ครอบฟัน เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาตและแข็งแรงติดนาน

@digitaldentalpattaya มาฟังขั้นตอนการรักษารากฟันกัน 🦷 #รักษารากฟัน #ทันตกรรม #จัดฟันพัทยา #ฟันขาวสะอาด #คลินิกทันตกรรม #คลินิกทำฟันพัทยา #ฟันสวย #หมอฟัน #ทําฟันพัทยา #digitaldentalcenterpattaya ♬ Berry Fairy – Dalkom Sounds

การรักษารากฟัน กี่วันเสร็จ

เวลาในการรักษารากฟันโดยทั่วไป หากสามารถอุดฟันได้ทันที การรักษาอาจเสร็จภายในครั้งเดียว แต่ถ้าต้องใส่เดือยฟันและทำครอบฟันเพิ่มเติม อาจต้องเข้าพบทันตแพทย์อีก 2-3 ครั้ง ซึ่งใช้เวลาเพิ่มเติมประมาณ 2-3 สัปดาห์ รวมแล้วกระบวนการรักษารากฟันจนเสร็จสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพฟัน และการตอบสนองของคนไข้ครับ

วิธีป้องกันคลองรากฟันติดเชื้อ หรืออักเสบ

การป้องกันการติดเชื้อหรืออักเสบในคลองรากฟันทำได้โดยการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง เช่น การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน และเข้ารับการตรวจฟัน และขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดคราบพลัคและหินปูนที่อาจสะสมอยู่ในช่องปาก การทำเช่นนี้ช่วยลดโอกาสการเกิดฟันผุและโรคเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่คลองรากฟันได้

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและหลีกเลี่ยงการกัดของแข็งที่อาจทำให้ฟันแตกหรือร้าว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียมีโอกาสเข้าสู่โพรงประสาทฟัน หากพบปัญหาฟันผุหรือรอยร้าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพื่อป้องกันการลุกลามและรักษาฟันธรรมชาติให้อยู่ได้ยาวนานครับ

ค่าใช้จ่ายในการรักษาคลองรากฟัน

มาถึงคำถามสำคัญที่หลายคนสงสัย นั่นคือเรื่องราคา รักษาคลองรากฟัน ในพัทยา ค่าใช้จ่ายยกตัวอย่างจากคลินิกทันตแรรมของเรา ที่ Digital Dental Center Pattaya จะมีค่ารักษารากฟันดังนี้:

การรักษาราคา
การรักษารากฟัน: –
การรักษารากฟัน (ฟันหน้า): 7,000 THB
การรักษารากฟัน (ฟันกรามน้อย): 8,000 – 9,000 THB
การรักษารากฟัน (ฟันกราม): 9,000 – 13,000 THB
การสร้างขึ้นหลัง/แกนกลาง: 6,000 THB

การเตรียมตัวก่อนการรักษารากฟัน

ก่อนเข้ารับการรักษารากฟัน ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น ดังนี้: 

1.งดแอลกอฮอล์และบุหรี่ล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง: เพื่อลดความเสี่ยงของเลือดออกและช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้นหลังการรักษา

2.รับประทานอาหารก่อนเข้ารับการรักษา: เนื่องจากในการรักษาจะมีการฉีดยาชา ซึ่งทำให้ปากของคุณชาหลังการรักษา และอาจทำให้รับประทานอาหารลำบาก แนะนำให้ทานอาหารเบา ๆ ก่อนการรักษาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้คุณรู้สึกสบายและไม่หิวระหว่างการรักษา

FAQ:คำถามทั่วไปเกี่ยวกับการรักษารากฟัน

รักษาคลองรากฟันเจ็บไหม?

การรักษาคลองรากฟันในปัจจุบันไม่เจ็บเหมือนในอดีต เพราะทันตแพทย์จะใช้ ยาชาเฉพาะที่ เพื่อทำให้บริเวณที่รักษาชา และลดความรู้สึกเจ็บระหว่างการทำหัตถการ คุณจึงไม่ต้องกังวลว่าจะรู้สึกเจ็บระหว่างการรักษา

รักษารากฟัน หรือถอนฟันดี?

หากจะให้เลือกระหว่าง รักษารากฟัน กับ ถอนฟัน ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันถ้าฟันของเรามีฟันผุ แต่สภาพเนื้อฟันยังเหลือพอ ก็ให้รักษารากฟัน แต่หากฟันผุ หรืออักเสบจนเนื้อฟันเหลือน้อยให้ทำการถอนแล้วใส่ฟันปลอม หรือรากฟันเทียมแทน

หลังรักษารากฟันไม่ทำครอบฟันได้ไหม?

คำตอบคือได้แต่ไม่แนะนำ หากยังมีเหตุจำเป็นทำให้ยังไม่สามารถทำครอบฟันได้แนะนำให้ดูแลฟันให้ดีที่สุด และไม่ควรเกิน 4 เดือนหลังจากนั้นสามารถมาทำครอบฟันได้ การทำครอบฟันนั้นเป็นการลงทุนระยะยาวกว่า

หลังจากรักษารากฟัน ต้องตรวจฟันทุกๆกี่ครั้ง?

หลังจากการรักษารากฟันเสร็จเรียบร้อย ควรตรวจฟันกับทันตแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา โดยปกติคุณหมอจะนัดตรวจหลังการรักษาประมาณ 6 เดือน จากนั้นควรตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน หรือปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพฟันและรากฟันยังคงดีอยู่และไม่มีปัญหาอื่น ๆ ตามมาครับ

เพิ่มเพื่อน!ขอคำปรึกษาและประเมินฟันฟรี

dentist pattaya #dental pattaya #dental clinic pattaya #good dentist pattaya #dental implant pattaya #invisalign pattaya #braces pattaya