เลือดออกตามไรฟัน เกิดจากอะไร รักษายังไงดี

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตอนแปรงฟันทำไมถึงมีเลือกออกตามไรฟัน หรือเหงือก ช่วงแรกๆทุกคนอาจจะคิดว่าเป็นเพราะแปรงฟันแรง หรือขนแปรงแข็งไป แต่พอเปลี่ยนแปรงฟันแล้ว ปรับพฤติกรรมแปรงฟันแล้ว ก็ยังไม่หาย เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่นะ บทความนี้จะมาคลายข้อสงสัย พร้อมวิธีป้องกัน และรักษากันครับ

เงือดออกตามไรฟัน เกิดจากอะไร

โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือ ลักปิดลักเปิด คืออะไร

เลือดออกตามไรฟัน หรือ “ลักปิดลักเปิด” คืออาการที่มีเลือดไหลออกมาใต้เหงือกและตามไรฟัน เมื่อแปรงฟัน มีสาเหตุจาก ขาดวิตามินซี เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ แปรงฟันแรงเกิน เป็นต้น

สาเหตุหลักของเลือดออกตามไรฟัน

สาเหตุหลักๆ อาการเลือดออกตามไรฟัน เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากและมีปัจจัยร่วมกับระบบร่างกาย ดังนี้:

  1. เหงือกอักเสบ (Gingivitis) การสะสมของคราบพลัคและหินปูนที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด ทำให้เหงือกอักเสบ บวมแดง และเลือดออกง่าย โดยเฉพาะเวลาแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน.
  2. โรคปริทันต์ (Periodontitis) หากเหงือกอักเสบไม่ได้รับการรักษา อาจลุกลามเป็นโรคปริทันต์ ทำให้เหงือกร่น กระดูกฟันถูกทำลาย และมีเลือดออกตามไรฟันอย่างรุนแรง.
  3. ขาดวิตามินซี (Scurvy) วิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนและความแข็งแรงของเหงือก หากร่างกายขาดวิตามินซี อาจทำให้เหงือกอ่อนแอและมีเลือดออกง่าย.
  4. การใช้แรงแปรงฟันมากเกินไป การแปรงฟันแรงเกินไปหรือการใช้แปรงที่ขนแข็งเกิน อาจทำให้เหงือกบาดเจ็บและมีเลือดออก.
  5. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ในช่วงตั้งครรภ์ วัยรุ่น หรือผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิด ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้เหงือกบวมและมีเลือดออกง่าย.
  6. โรคระบบเลือดและภูมิคุ้มกัน โรคบางชนิด เช่น ลูคีเมีย หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อาจทำให้เลือดออกง่าย รวมถึงบริเวณไรฟัน.
  7. การใช้ยาบางชนิด ยาที่มีผลทำให้เลือดแข็งตัวช้า เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin, Aspirin) หรือยาลดความดันบางชนิด อาจเพิ่มโอกาสเลือดออกตามไรฟัน
  8. การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เนื้อเยื่อเหงือกอ่อนแอ ลดการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มโอกาสเลือดออกตามไรฟัน.
อาการของเลือดออกตามไรฟัน

อาการของ เลือดออกตามไรฟัน

  1. เหงือกบวมแดง: เหงือกมีสีแดงเข้มหรือบวมผิดปกติ บ่งบอกถึงการอักเสบ
  2. แผลในปากหายช้า: หากขาดวิตามินซีหรือมีปัญหาสุขภาพร่างกาย อาจทำให้แผลในช่องปากหายช้ากว่าปกติ
  3. ฟันโยก: หากปัญหาเหงือกอักเสบรุนแรง อาจทำให้ฟันเริ่มโยกหรือหลุด
  4. เลือดออกเป็นลิ่ม: บ่งบอกถึงการอักเสบหรือปัญหาของระบบการแข็งตัวของเลือด
  5. เหงือกร่น: เหงือกมีลักษณะหดตัวหรือร่นออกจากฟัน ทำให้เห็นรากฟันมากขึ้น
  6. มีจุดเลือดออกใต้เหงือกหรือในปาก: บางครั้งจะเห็นจุดแดงเล็กๆ หรือรอยช้ำที่เหงือกหรือบริเวณใกล้เคียง

วิธีรักษา และ ป้องกัน เลือดออกตามไรฟัน

1.ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง: แปรงฟันเบาๆ และถูกวิธี ใช้แปรงขนนุ่ม เลือกยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟัน และใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อทำความสะอาดอย่างล้ำลึก

2.เสริมวิตามิน C หาได้จากผลไม้ที่มี วิตามินซีสูง เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี และผัดสด เช่นบรอกโคลี หรือยังสามารถเพิ่มจากการทานอาหารเสริมวิตามิน C ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม

3.เข้ารับการรักษาทางทันตกรรม ขูดหินปูน ทุกๆ 6 เดือน รักษาฝันผุ และโรคเหงือกหรือปริทันต์ ตามอาการหรือปัญหาฟันที่เป็นอยู่อย่างถูกต้อง

4.ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดหรือเลิกสูบบุหรี เครื่องดื่มแอลกอฮอล นอนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการไหลเวียนโลหิต

บทสรุปเลือดออกตามไรฟัน

เลือดออกตามไรฟันเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ การขาดวิตามินซี การแปรงฟันแรงเกินไป หรือปัจจัยทางสุขภาพอื่นๆ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจลุกลามเป็นปัญหาช่องปากที่รุนแรงได้ วิธีป้องกันและรักษาคือ ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี เช่น ใช้แปรงขนนุ่ม แปรงฟันเบามือ ใช้ไหมขัดฟัน เสริมวิตามินซีจากอาหารและอาหารเสริม เข้าพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจและขูดหินปูน รวมถึงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ลดสูบบุหรี่และนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยให้เหงือกและช่องปากกลับมาแข็งแรงได้

แชร์บทความ
Narongsak Chiwimahannob
Narongsak Chiwimahannob
Articles: 25