เอกซเรย์ฟันที่ไหนดี? เปรียบเทียบราคา คลินิกเอกชน VS โรงพยาบาลรัฐ

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมไปคลินิกทำฟันจะต้องเอกซเรย์ฟันก่อนรักษาทุกครั้ง จำเป็นขนาดนั้นเลยหรอ เราสามารถไม่เอกซเรย์ฟันได้ไหม ไม่อยากเสียค่าเอกซเรย์ฟันอ่ะ 

เนื้อหาในบทความนี้เราจะมาให้ข้อมูลถึงขั้นตอนที่สำคัญสุดๆเพื่อให้การรักษาได้อย่างแม่นยำนั่นคือการเอกซเรย์ฟันนั่นเอง มาดูกันว่าเอกเรย์ฟันสำคัญยังไง ราคาเท่าไหร่ ระหว่างคลินิกเอกชน กับ โรงพยาบาลรัฐเลือกที่ไหนดี

เอกซเรย์ฟัน คืออะไร

การเอกซเรย์ฟัน คืออะไร สำคัญแค่ไหน

การเอกซเรย์ฟัน (Dental X-ray) เป็นการถ่ายภาพรังสีเพื่อแสดงภาพโครงสร้างของฟันในทุกมิติ ตั้งแต่ส่วนที่อยู่เหนือเหงือกไปจนถึงรากฟัน และกระดูกขากรรไกรที่อยู่ลึกใต้เหงือก ขั้นตอนสำคัญนี้จะช่วยให้ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัย รวมถึงวางแผนการรักษาสุขภาพฟันได้อย่างแม่นยำและครบถ้วน

นอกจากการตรวจหาความผิดปกติ เช่น ฟันผุ รากฟันเสีย หรือกระดูกกรามผิดรูปแล้ว การเอกซเรย์ฟันยังมีบทบาทสำคัญในการติดตามการรักษาฟันในระยะยาว ช่วยบันทึกประวัติสุขภาพช่องปากอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถประเมินความคืบหน้า และปรับแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาในอนาคต

เอกซเรย์ฟัน มีกี่แบบ มีกี่ประเภท

ประเภทของการเอกซเรย์

การเอ็กซ์เรย์ฟันมี 5 ประเภทหลัก โดยแต่ละแบบจะเหมาะสำหรับเคสการรักษาต่างๆดังนี้:

1.เอ็กซ์เรย์เฉพาะซี่ (Periapical X-ray) 

เป็นการถ่ายภาพฟันเฉพาะซี่ แสดงให้เห็นตัวฟัน รากฟัน และกระดูกรอบๆ รากฟัน 

เหมาะสำหรับ: ตรวจหารอยผุ ดูการติดเชื้อที่รากฟัน วางแผนรักษารากฟัน ตรวจดูความผิดปกติของกระดูกรอบรากฟัน

2.เอ็กซ์เรย์กัดปีก (Bitewing X-ray)

เป็นการถ่ายภาพฟันบน และล่างพร้อมกัน โดยให้ผู้ป่วยกัดแผ่นฟิล์ม

เหมาะสำหรับ: ตรวจหารอยผุระหว่างซี่ฟัน ดูระดับกระดูกเหงือก ตรวจสอบการสบฟัน

3.เอ็กซ์เรย์พาโนรามา (Panoramic X-ray)

เป็นการถ่ายภาพรอบศีรษะ แสดงให้เห็นฟันทั้งปาก และโครงสร้างใบหน้า

เหมาะสำหรับ: วางแผนจัดฟัน ตรวจฟันคุด ประเมินข้อต่อขากรรไกร ตรวจหาความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร

4.เอ็กซ์เรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan)

เป็นการถ่ายภาพ 3 มิติ ด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์

เหมาะสำหรับ: วางแผนฝังรากฟันเทียม ตรวจวินิจฉัยโรคซับซ้อน ดูโครงสร้างกระดูกใบหน้าอย่างละเอียด

5.เอ็กซ์เรย์โคนบีม (Cone Beam CT)

เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ให้ภาพ 3 มิติคล้าย CT แต่ใช้รังสีน้อยกว่า

เหมาะสำหรับ: วางแผนผ่าตัดในช่องปาก วางแผนรักษารากฟัน ประเมินความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร วางแผนจัดฟันซับซ้อน

ประโยชน์ของการเอกซเรย์ฟัน

1. ตรวจความผิดปกติของฟันที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

การเอกซเรย์ฟันช่วยให้ทันตแพทย์มองเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น ฟันผุในระยะเริ่มต้น รอยร้าวเล็ก ๆ ในฟัน รากฟันที่ติดเชื้อ หรือฟันคุดที่ยังไม่โผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจรักษาอย่างเหมาะสม

2. วางแผนการรักษาอย่างแม่นยำ

ในกรณีที่ต้องทำหัตถการ เช่น การถอนฟัน ฟอกฟันขาว การทำรากฟันเทียม หรือการจัดฟัน การเอกซเรย์ช่วยให้ทันตแพทย์เห็นโครงสร้างของฟันและกระดูกขากรรไกรในทุกมุมมอง ทำให้การวางแผนรักษามีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงระหว่างการรักษา

3. ติดตามผลการรักษาในระยะยาว

การเอกซเรย์ฟันใช้ในการติดตามผลหลังการรักษา เช่น การตรวจสอบการยึดเกาะของรากฟันเทียม การเฝ้าดูอาการหลังการถอนฟัน หรือการจัดฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาเป็นไปตามเป้าหมาย

4. ประเมินความหนาแน่นของกระดูก

การเอกซเรย์สามารถช่วยตรวจสอบความหนาแน่นของกระดูกบริเวณขากรรไกร ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการทำรากฟันเทียม หรือตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน

5. เพิ่มโอกาสป้องกันปัญหาในอนาคต

ด้วยการตรวจพบปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น ฟันผุที่ลึกจนใกล้โพรงประสาทฟัน การเอกซเรย์ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่การรักษาที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่สูงในอนาคต

6. ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยอื่น ๆ

การตรวจสุขภาพฟันด้วยเอกซเรย์ยังช่วยตรวจสอบสุขภาพในบริเวณใกล้เคียง เช่น ข้อต่อขากรรไกร หรือการติดเชื้อที่อาจลุกลามไปยังระบบอื่นของร่างกาย

เอกซเรย์ฟัน โรงพยาบาลรัฐ VS คลินิกเอกชน

เอกซเรย์ฟันที่โรงพยาบาลรัฐ

ข้อดี:

  • ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า โดยเฉพาะเมื่อใช้สิทธิ์การรักษา เช่น บัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ 
  • มีทีมแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา สามารถส่งต่อการรักษาได้ครบวงจร
  • มีมาตรฐานการรักษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข
  • เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการรักษาโรคซับซ้อนหรือต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 

ข้อจำกัด:

  • ต้องรอคิวนาน อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อครั้ง
  • การนัดหมายอาจได้คิวห่างหลายเดือน
  • บริการอาจไม่สะดวกสบายเท่าเอกชน
  • มีขั้นตอนการรับบริการหลายขั้นตอน 

เอกซเรย์ฟันที่คลินิกเอกชน

ข้อดี:

  • สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน
  • เวลาทำการยืดหยุ่น มักเปิดนอกเวลาราชการ
  • การนัดหมายสะดวก สามารถเลือกเวลาได้
  • บริการเป็นกันเอง ให้คำปรึกษาละเอียด
  • มีโปรโมชั่นและแพ็คเกจให้เลือก

ข้อจำกัด:

  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ
  • อาจไม่สามารถใช้สิทธิ์การรักษาบางประเภท
  • กรณีพบโรคซับซ้อน อาจต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลใหญ่
  • อุปกรณ์บางอย่างอาจไม่ครบเท่าโรงพยาบาล
CT Scan ที่ Digital Dental Center Pattaya

เอกซเรย์ฟัน ราคาเท่าไหร่

ราคาเอกซเรย์ฟัน คลินิกเอกชน

ที่ Digital Dental Center Pattaya จะรับแสกนอยู่ 4 แบบ โดยมีราคาเอกซเรย์ฟันดังนี้

  • เอกซเรย์เฉพาะซี่ ราคา 300 THB
  • เอกซเรย์กัดปีก ราคา 300 THB
  • เอกซเรย์แบบพาโนรามา ราคา 950 THB
  • CT สแกน/เอกซเรย์ 3 มิติ ราคา 4,500 THB

ราคาเอกซเรย์ฟัน โรงพยาบาลรัฐ

  • เอกซเรย์ฟิล์มเล็ก (Periapical X-ray) ราคาประมาณ 200-300 บาท
  • เอกซเรย์พาโนรามา (Panoramic X-ray) ราคาประมาณ 400-500 บาท 

แนะนำให้เช็คสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) หรือประกันสังคม อาจสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลบางส่วนหรือทั้งหมดได้

ขั้นตอนการ x-ray ฟัน

ขั้นตอน และ วิธีเอกซเรย์ฟัน

1. ขั้นตอนก่อนเอกซเรย์ฟัน

ลงทะเบียน

  • ยื่นบัตรประชาชน
  • แจ้งสิทธิ์การรักษา (ถ้ามี)
  • กรอกประวัติ/ข้อมูลสุขภาพ

เตรียมตัว

  • ถอดเครื่องประดับที่คอและหู
  • ถอดฟันปลอม (ถ้ามี)
  • แจ้งหมอถ้าตั้งครรภ์

2. วิธีการเอกซเรย์ฟัน

แบบถ่ายทีละซี่

  • ใส่เสื้อตะกั่วกันรังสี
  • นั่งเก้าอี้ทำฟัน
  • หมอใส่แผ่นฟิล์มในปาก
  • กัดแผ่นฟิล์มให้แน่น
  • อยู่นิ่งๆ 1-2 วินาที

แบบถ่ายทั้งปาก (พาโนรามา)

  • ยืนหรือนั่งตรงเครื่อง
  • วางคางบนที่วาง
  • กัดที่กัดพลาสติก
  • อยู่นิ่งๆ 15-20 วินาที
  • เครื่องจะหมุนรอบศีรษะ

3. หลังเอกซเรย์ฟัน

การเอกซเรย์แบบ ดิจิทัลจะสามารถดูผลได้ทันที ส่วนแบบฟิล์มต้องรอผล 5-15 นาที จากนั้นสามารถรอฟังผลจากหมอ รับคำแนะนำการรักษา หรือการนัดหมายครั้งถัดไป

ข้อควรรู้: การเอกซเรย์จะใช้เวลารวม เอกซเรย์ทีละซี่: 20-30 นาที เอกซเรย์พาโนรามา: 30-45 นาที เอกซเรย์มีความปลอดภัย รังสีน้อยมาก มีเสื้อตะกั่วป้องกัน ไม่เจ็บ ไม่ต้องกลัว

FAQ: คำถามเกี่ยวกับการเอกซเรย์ฟัน

1. เอกซเรย์ฟันอันตรายไหม?

การเอกซเรย์ฟันปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ เนื่องจากปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมาก และทันตแพทย์จะให้ใส่ผ้ากันรังสีเพื่อป้องกันร่างกายส่วนอื่น อย่างไรก็ตาม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนการเอกซเรย์

2. เอกซเรย์ฟันต้องถอดต่างหูไหม?

ในบางกรณี โดยเฉพาะการเอกซเรย์ที่ครอบคลุมทั้งศีรษะ เช่น พาโนรามา (Panoramic X-ray) อาจต้องถอดต่างหูหรือเครื่องประดับโลหะเพื่อป้องกันการรบกวนภาพ

3. เอกซเรย์ฟันใช้เวลานานไหม?

ในบางกรณี โดยเฉพาะการเอกซเรย์ที่ครอบคลุมทั้งศีรษะ เช่น พาโนรามา (Panoramic X-ray) อาจต้องถอดต่างหูหรือเครื่องประดับโลหะเพื่อป้องกันการรบกวนภาพ

4. เอกซเรย์ฟันสามารถช่วยตรวจอะไรได้บ้าง?

– ฟันผุระหว่างซี่ฟัน
– ฟันคุด
– การติดเชื้อที่รากฟัน
– การสูญเสียกระดูกขากรรไกร
– การจัดตำแหน่งของฟันและกระดูกก่อนการจัดฟัน

5. เด็กสามารถเอกซเรย์ฟันได้หรือไม่?

เด็กสามารถเอกซเรย์ฟันได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการตรวจดูฟันที่กำลังขึ้น การเรียงตัวของฟัน หรือปัญหาที่เกี่ยวกับฟันน้ำนม

แชร์บทความ
Narongsak Chiwimahannob
Narongsak Chiwimahannob
Articles: 25