อาการปวดฟันกราม ตุบๆ ไปถึงหู เกิดจากอะไร ทำยังไงให้หาย

อาการปวดฟันกรามตุบๆ ที่ลามไปถึงหู หนึ่งในสัญญานเตือน สาเหตุปัญหาฟันที่อาจลุกลาม และส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมารู้จักกับสาเหตุของอาการปวดฟันกราม พร้อมวิธีบรรเทา และรักษาอย่างตรงจุด

อาการปวดฟันกราม เกิดจากอะไร

อาการปวดฟันกราม ตุบๆ เกิดจากอะไร

อาการปวดฟันกรามตุบๆ เกิดจากสาเหตุหลักๆ เช่น ฟันผุทะลุโพรงประสาท ฟันคุด เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ หรือฟันแตกร้าว บางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับไซนัสอักเสบ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริงต่อไปนี้:

1.ฟันผุทะลุโพรงประสาท: ฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดตุบๆ โดยเฉพาะเวลากัดอาหารหรือดื่มน้ำร้อน-เย็น
2.ฟันคุด (Impacted Tooth): ฟันคุดที่ยังไม่ขึ้นเต็มที่หรือขึ้นผิดตำแหน่ง อาจกดทับฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดตุบๆ และลามไปถึงเหงือกและบริเวณรอบขากรรไกร
3.เหงือกอักเสบ (Gingivitis): การสะสมของคราบหินปูนหรือเศษอาหารบริเวณฟันกราม อาจทำให้เหงือกอักเสบ บวมแดง และมีอาการปวดร่วมด้วย
4.ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMJ Disorder): หากคุณมีอาการปวดกรามตุบๆ พร้อมกับปวดร้าวไปถึงหู อาจเป็นสัญญาณของปัญหาข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการเคี้ยวอาหารผิดวิธี หรือความเครียดที่ทำให้ขบฟัน
5.ฟันแตกหรือร้าว: ฟันกรามที่มีรอยแตกเล็กๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดตุบๆ โดยเฉพาะเมื่อฟันได้รับแรงกดระหว่างการเคี้ยว
6.การติดเชื้อในโพรงฟันหรือรากฟัน (Abscess): การติดเชื้อในโพรงฟันหรือลุกลามไปที่รากฟัน อาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและตุบๆ ตลอดเวลา

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันกราม ด้วยการใช้น้ำอุ่นผสมเกลือบ้วนปาก

วิธีบรรเทาและรักษาอาการปวดฟันกราม

1.วิธีบรรเทาอาการปวดฟันกรามเบื้องต้น

  • ใช้เกลือผสมน้ำอุ่นบ้วนปาก เพื่อลดการอักเสบของเหงือก
  • ประคบเย็นบริเวณแก้มที่ปวด เพื่อลดอาการบวมและชะลอการอักเสบ
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน

2.เข้ารับการรักษากับทันตแพทย์: 

  • หากอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ
  • ทันตแพทย์อาจแนะนำการรักษา เช่น การอุดฟัน ถอนฟันคุด หรือรักษารากฟัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ 

3.ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการสะสมของคราบพลัค
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพฟันและเหงือก
อาการปวดปวดฟันที่ควรพบทันตแพทย์

อาการปวดฟันกรามที่ควรรีบพบทันตแพทย์?

หากคุณมีอาการปวดฟันกรามรุนแรงหรือต่อเนื่องโดยไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ทันที โดยเฉพาะในกรณีต่อไปนี้:

1.ปวดฟันรุนแรงและต่อเนื่องเกิน 2-3 วัน: อาการปวดที่ไม่บรรเทาด้วยยาแก้ปวดทั่วไป หรือมีแนวโน้มปวดหนักขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุอาจมาจากฟันผุลึกถึงโพรงประสาทหรือการติดเชื้อในโพรงฟัน 
2.ปวดฟันกราม ร้าวไปถึงหู หรือศีรษะ: หากอาการปวดฟันกรามลามไปถึงหูหรือศีรษะ อาจเป็นสัญญาณของฟันคุดอักเสบ หรือรากประสามฟันอักเสบ ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ หรือการติดเชื้อที่ลุกลาม
3.เหงือกบวมแดงหรือมีหนอง: เหงือกบวมแดง เจ็บ หรือมีหนองเกิดขึ้น เป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น การรักษาโพรงประสาทฟันหรือขูดหินปูน
4.ปวดฟัน หน้าบวม: สาเหตุของอาการบวมอาจมีตั้งแต่การอักเสบเล็กน้อยจนถึงการติดเชื้อร้ายแรง
5.มีไข้ร่วมกับอาการปวดฟัน: อาการ ปวดฟันร่วมกับมีไข้ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อในช่องปาก
6.ปวดฟันกรามซี่ในสุดที่: อาการปวดฟันกรามซี่ในสุดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เนื่องจากฟันกรามซี่ในสุด มักหมายถึงฟันคุดหรือฟันกรามแท้ซี่สุดท้าย
7.เคี้ยวอาหารแล้วเจ็บฟันหรือฟันโยก: ฟันที่เจ็บหรือโยกผิดปกติเมื่อเคี้ยวอาหาร อาจเกิดจากการติดเชื้อในรากฟัน หรือปัญหาเกี่ยวกับกระดูกที่รองรับฟัน

สรุป

อาการปวดฟันกรามตุบๆ ที่ลามไปถึงหูไม่เพียงสร้างความรำคาญ แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพช่องปากที่อาจร้ายแรง หากปล่อยไว้นานโดยไม่รับการรักษา อาจลุกลามและส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม การดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น การประคบเย็น บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือรับประทานยาแก้ปวด อาจช่วยบรรเทาอาการได้ในระยะสั้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เช่น การแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และพบทันตแพทย์เป็นประจำ จะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพฟันในอนาคต เพราะสุขภาพช่องปากที่ดีไม่เพียงช่วยให้คุณยิ้มได้อย่างมั่นใจ แต่ยังเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน

FAQ:คำถามที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดฟันกราม

1.จะรู้ได้ยังไงว่าฟันผุถึงโพรงประสาทแล้ว?

ฟันผุถึงโพรงประสาทแสดงอาการชัดเจน เช่น ปวดตุบๆ ตลอดเวลา ปวดร้าวเมื่อเจอความร้อน-เย็น หรือมีรูผุลึกที่มองเห็นได้ ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษารากฟันก่อนเกิดการติดเชื้อ

2.ปวดฟันกรามสามารถถอนได้ไหม?

การถอนฟันกรามขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น ฟันคุด ฟันผุรุนแรง หรือการติดเชื้อ หากฟันไม่สามารถรักษาได้ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนออก

3.ปวดฟันกรามซี่ในสุดด้านบนและด้านล่างต่างกันอย่างไร?

ฟันกรามซี่ในสุดด้านบนอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาไซนัส ส่วนด้านล่างมักเกิดจากฟันคุดหรือฟันผุ การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการและการตรวจของทันตแพทย์

4.แก้ปวดฟันให้หายใน 1 นาทีได้ไหม?

แม้จะไม่สามารถหายขาดได้ทันที แต่คุณสามารถบรรเทาอาการได้ในเบื้องต้น เช่น บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ประคบเย็น และรับประทานยาแก้ปวด

5.ปวดฟันกรามไปถึงหูเป็นอันตรายไหม?

อาการปวดที่ลามไปถึงหูอาจบ่งบอกถึงปัญหาข้อต่อขากรรไกร ฟันคุด หรือการติดเชื้อ ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลาม

แชร์บทความ
Narongsak Chiwimahannob
Narongsak Chiwimahannob
Articles: 22