การอุดฟันคืออะไร
การอุดฟัน (Dental Filling) เป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่ใช้ฟื้นฟูสภาพของฟันที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ฟันผุ ฟันแตกหรือฟันหัก ฟันสึกหรอ หรือฟันกร่อน ทันตแพทย์จะใช้วัสดุทดแทนพิเศษอย่างอคุรัต เติมเต็มในพื้นที่ที่ขาดหายไป ไม่เพียงแต่เพื่อฟื้นคืนฟังก์ชันการใช้งานของฟันให้คงที่ แต่ยังช่วยป้องกันการลุกลามของการทำลายที่อาจนำไปสู่การผุหรือการสูญเสียเนื้อฟันเพิ่มเติม การอุดฟันจึงเป็นการรักษาที่ไม่เพียงแค่ช่วยให้ฟันกลับมาแข็งแรงและทำงานได้อย่างเหมาะสม แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในช่องปากและคุณภาพชีวิตโดยรวมอีกด้วย.
ฟันผุแบบไหนต้องอุดฟัน
วันนี้ หมอคณากร(หมอฟิวส์) จะมาคลายข้อสงสัยหลายๆคนสงสัยว่าฝันผุมีกี่แบบและแบบไหนควรอุดฟันบ้าง ฝันผุหลักๆแบ่งออกเป็น 2 สเตจ สเตจ ที่ 1 คือ ฟันกำลังเริ่มผุจะเห็นลักษณะเป็นสีขาวขุ่นๆเรียกกันว่าช็อกกี้ไวท์ ระยะนี้ไม่จำเป็นต้องอุดก็ได้แค่เราแปรงฟันให้สะอาด ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ จะทำให้หยุดการลุกลามแต่หากเราดูแลและแปรงฟันไม่ดีก็จะเปลี่ยนไปเป็นอีกสเตจหนึ่งหรือที่เราเห็นเป็นสีน้ำตาลทำให้เกิดเป็นฝันผุหรือหากปล่อยไว้นานขึ้นก็จะกลายเป็นสีดำและเกิดเป็นฟันผุจนเป็นรูนั่นเอง
ฟันห่างอุดฟันได้ไหม
ฟันห่างโดยปกติสามารถอุดฟันได้ในกรณีที่ไม่ซับซ้อนมาก เช่นห่างแค่ฟันหน้า หรือฟันกระต่าย แต่หากมีฟันห่างหลายจุดหรือหลายซี่แนะนำให้จัดฟัน รวบฟันให้ติดชิดกันหรือวีเนียร์ จะทำให้ปิดช่องว่างและยังปรับให้รูปทรงฟันสวยงามขึ้นด้วย
วัสดุอุดฟันมีกี่แบบ
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน แบ่งออกได้หลักๆ 2 แบบ ที่ใช้กันอยู่ 1. วัสดุแบบมัลกัม หรือวัสดุโลหะ มีความทนทานแต่ต้องกลอฟันมากหน่อย สีไม่เป็นธรรมชาติ 2. วัสดุเรซิ่นคอมโพสิต ตัวนี้จะเป็นวัสดุที่เหมือนกับฟันธรรมชาติ ไม่ต้องกลอมากกลอแค่ส่วนที่ผุ
การดูแลรักษาฟันที่ได้รับการอุดอย่างถูกวิธี เช่น แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ใช้ไหมขัดฟัน และเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คฟันเป็นประจำ จะช่วยให้การอุดฟันอยู่ได้นานขึ้นค่ะ
อุดฟันวัสดุโลหะ
การอุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ เป็นการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันที่เรียกว่าอมัลกัม (Amalgam) ทำมาจากการผสมกันของปรอท เงิน ดีบุก หรือโลหะ เวลาอุดฟันเสร็จแล้วจะเห็นตัววัสดุเป็นสีเงินหรือสีเทา ส่วนใหญ่จะใช้ในการอุดฟันกรามเเละฟันกรามน้อย เพราะมีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงบดเคี้ยว และสีอาจจะไม่สวยเนียนไปกับสีฟัน
ข้อดีของวัสดุอุดฟันสีโลหะ
- แข็งแรงและทนทาน
- ราคาไม่แพง
- ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก
- ทนทานต่อแรงบดเคี้ยวได้ดี
- ยึดติดกับฟันได้ด้วยตัวมันเอง ไม่ต้องทำล็อกต่างๆ ให้วุ่นวาย
- ประกันของทันตกรรม มักจะครอบคลุมค่ารักษาด้วยการอุดฟันแบบสีโลหะ
ข้อเสียของวัสดุอุดฟันสีโลหะ
- มีสีที่ไม่เหมือนฟัน มองเห็นชัดว่าทำการอุดฟัน
- ไม่เหมาะกับการอุดฟันหน้าหรือซี่ฟันที่มองเห็นได้ชัด
- หลังอุดฟันต้องรอ 24 ชั่วโมงถึงจะใช้ฟันที่ทำการอุดในการบดเคี้ยวอาหารได้
- มีส่วนผสมของปรอทและโลหะอื่นๆ ที่อาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้
อุดฟันวัสดุเรซินคอมโพสิต
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Resin Composite Filling) คือ การอุดฟันวัสดุอุดฟันสีเหมือนธรรมชาติเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้อุดได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม หรือซี่ฟันที่สามารถมองเห็นได้ แต่วัสดุสีเหมือนฟันจะแข็งแรงไม่เท่ากับการอุดฟันด้วยวัสดุโลหะ และมีขั้นตอนในการทำที่ยุ่งยากกว่า
ข้อดีของวัสดุอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
- สีเหมือนกับฟันธรรมชาติ จึงเหมาะสำหรับใช้อุดฟันหน้าหรือฟันที่สามารถเห็นได้ชัด
- ไม่มีสารปรอท
- ไม่ต้องรอครบ 24 ชั่วโมงก็สามารถใช้บดเคี้ยวได้เลย
ข้อเสียของวัสดุอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
- ราคาแพงกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ
- มีความทนทานน้อยกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ และรับแรงบดเคี้ยวได้น้อยกว่า
- ใช้เวลาในการอุดฟันนานกว่า
- สามารถติดสีจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภค เช่น ชา, กาแฟ หรือจากการสูบบุหรี่
การอุดฟันอยู่ได้นานแค่ไหน
การอุดฟันสามารถอยู่ได้นานหลายปี ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน การดูแลรักษาฟันของผู้ป่วย และตำแหน่งของการอุดฟัน โดยทั่วไปแล้ว การอุดฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน (Composite Resin) สามารถอยู่ได้นานประมาณ 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานฟันของผู้ป่วย เช่น การเคี้ยวของแข็งหรือการบดเคี้ยวอาหารที่เหนียว
ปัญหาฟันที่ควรอุดฟัน
คนที่จะต้องทำการอุดฟันจะมี ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาฟันแตก ฟันผุ ปวดฟัน หรือฟันสึก ซึ่งตรวจแล้วพบว่าจะต้องรักษาฟันที่ถูกทำลายด้วยการอุดฟัน
- คนที่เคยอุดฟันมาแล้วแต่ว่ามีปัญหาที่อุดฟันแตกหรือที่อุดฟันหลุด
- มีปัญหาฟันห่าง โดยสามารถใช้วิธีอุดปิดช่องว่างระหว่างฟันจะใช้วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันได้
- ต้องการปรับเปลี่ยนรูปร่าง หรือปรับเปลี่ยนสีของวัสดุอุดฟัน
- แปรงฟันแรงรวมถึงใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบ ทำให้ผิวฟันบริเวณคอฟัน เกิดสึกกร่อนไป
การอุดฟันเป็นการรักษาที่จำเป็นเมื่อฟันได้รับความเสียหายจากการผุ, แตก, บิ่น, หรือสึกหรอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น การอักเสบของเหงือก, การเกิดหนอง, รากฟันที่อาจเสื่อมสภาพ, หรือโรคที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นไปถึงมะเร็งในช่องปาก การอุดฟันด้วยวัสดุที่มีคุณภาพช่วยฟื้นฟูฟันให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียและเศษอาหารฝังตัว ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายเนื้อฟันเพิ่มเติม นอกจากนี้ การอุดฟันยังช่วยในเรื่องของความสวยงาม ทำให้การพูดและการเคี้ยวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการฟื้นฟูรูปทรงและโครงสร้างฟันให้คล้ายกับฟันธรรมชาติมากที่สุด